ตลาดรถอีวี

มธบ.แนะปั้นบุคลากรรองรับตลาดรถอีวี พร้อมพัฒนาจุดชาร์จ

ดร.ชัยพร เขมะภาตะพันธ์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (CITE) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) เปิดเผยว่า สาเหตุผลที่ทำให้รถ BEV ได้รับความนิยมในประเทศไทย เพราะการปรับตัวของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นมาก และนโยบายการส่งเสริมของรัฐบาลทำให้คนไทยมีโอกาสเป็นเจ้าของรถไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการใช้งานนั้นยังจำกัดอยู่ เนื่องจากสถานีชาร์จยังไม่ครอบคลุมทั้งประเทศ

โดยจำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้าในช่วงต้นปี 2566 มีประมาณ 1,000 กว่าแห่งเท่านั้น ซึ่งราวๆ 40% ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และส่วนมากหัวชาร์จตามสถานีจะมีแค่ 2 หรือ 3 หัวเท่านั้น

หลายแห่งก็ไม่ใช่เครื่องชาร์จ DC แบบเร็ว ส่วนใหญ่จะเป็นหัวชาร์จ AC Type 2 ซึ่งชาร์จได้ช้ากว่า DC มาก การชาร์จแต่ละครั้งยังคงใช้เวลานาน ถ้ามีรถมาชาร์จหลายคันต้องต่อคิวรอ

“ถ้าไม่ได้เดินทางไกล หรือใช้งานในเมืองเป็นหลัก ก็ไม่ค่อยมีปัญหา กลับมาชาร์จที่บ้านด้วย Home Charger ได้ หรือหากจำเป็นจริงๆ ก็แวะที่สถานีชาร์จระหว่างเดินทางได้ แต่ถ้าออกไปต่างจังหวัด หรือต้องเดินทางไกลๆ ก็ต้องวางแผนการเดินทางให้ดี ถึงแม้ว่ารถ BEV ในปัจจุบันจะสามารถเดินทางได้ไกลกว่า 400-500 กิโลเมตรต่อการชาร์จเต็ม แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นตัวกำหนดให้ระยะทางสั้นลงได้ เช่น การเปิดแอร์ ความเร็วในการขับ และน้ำหนักที่บรรทุก ทำให้ไปได้ไม่ไกลเท่าที่คิด” ดร.ชัยพร กล่าว

ดร.ชัยพร เขมะภาตะพันธ์

ดร.ชัยพรกล่าวอีกว่า ปัญหาของผู้ใช้งานรถ EV ที่อาจพบเจอในเวลานี้ เช่น ที่ชาร์จเสีย หรืออาจจะมีคนจอดรถชาร์จอยู่ โดยที่แอพพลิเคชั่นไม่ได้แจ้งเตือน หัวชาร์จที่ไม่ตรงกับหัวชาร์จของรถ หรือบางครั้งเจอรถที่ชาร์จเต็มแล้วแต่เจ้าของรถไม่อยู่ ก็ต้องรอ รวมทั้ง แท่นชาร์จหลายแห่งติดตั้งอยู่กลางแจ้ง ไม่มีหลังคา สิ่งเหล่านี้คือปัญหาที่จะต้องเจอหากต้องชาร์จรถ EV จากสถานีชาร์จสาธารณะ

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าอีกไม่นานระบบ แอพพลิเคชั่น และสถานีชาร์จ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น ส่วนอีกเรื่องที่คนใช้งานรถ EV กังวล คือแบตเตอรี่ที่เมื่อเกิดปัญหา อาจมีค่าใช้จ่ายที่แพงมากหลายแสนบาท ดังนั้น ประกันภัยรถ BEV จึงแพงกว่ารถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในค่อนข้างมาก เจ้าของรถจึงต้องระวังการขับขี่ที่อาจส่งผลต่อการเสียหายโดยตรงต่อแบตเตอรี่ ซึ่งส่วนมากติดตั้งอยู่ที่พื้นของห้องโดยสารรถ เช่น การครูดใต้ท้องรถ หรือการเกิดความเสียหายที่ด้านข้างรถอย่างแรง เป็นต้น

“โดยขณะนี้บุคลากรทางด้านรถ EV ในประเทศไทยยังมีน้อย ส่วนใหญ่มีความเชี่ยวชาญแต่สาขาทางด้านยานยนต์แบบเดิม โดยเฉพาะระบบเครื่องยนต์สันดาปภายใน แต่สำหรับรถ EV มีรูปแบบที่ต่างออกไปค่อนข้างมาก อย่างการดัดแปลงรถยนต์เครื่องสันดาปมาเป็นรถ EV ที่นิยมทำกันมากในต่างประเทศ ไม่ใช่แค่การยกเครื่องยนต์ออกแล้วใส่มอเตอร์ไฟฟ้าเท่านั้น รวมทั้ง การที่ไทยเป็นที่ตั้งฐานการผลิตรถ EV ตรงนี้ทำให้มีความต้องการบุคลากรจำนวนมาก ภาคการศึกษาต้องเร่งสร้างบุคลากรให้ตอบโจทย์ และรองรับเทรนด์นี้ให้ทัน ซึ่งการใช้รถ EV ในเมืองไทย เรียกได้ว่ายังมีโอกาสโตขึ้นอีกมาก” ดร.ชัยพร กล่าว

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ cyberwearz.com

แทงบอล

Releated